|
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
|
|
|
|
ชื่อสถานที่ |
: |
วัดอัมพวัน |
|
|
ที่ตั้ง |
: |
|
|
|
ข้อมูล |
: |
วัดอัมพวัน ถือเป็นวัดอันดับต้น ๆ ที่มีประชาชนเดินทางไปปฏิบัติธรรม เนื่องจากวัดแห่งนี้ ยึดหลักปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน 4 แม้วันนี้หลวงพ่อจรัญจะมรณภาพไปแล้ว แต่ยังมีพุทธศาสนิกชน เดินทางไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ความรู้สึกของประชาชนที่เลื่อมใสในหลักคำสอนของพระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าสามารถนำหลักในการปฏิบัติธรรม ไปใช้ได้จริงกับการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงทำให้ทุกวันนี้ วัดอัมพวัน เป็นวัดอันดับต้นๆของวัดปฏิบัติธรรม แบบวิปัสสนากรรมฐาน คือ การกำหนดจิตภาวนาแนวสติปัฏฐาน 4 ซึ่งประกอบด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน และแม้วันนี้หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม จะมรณภาพแล้วแต่ยังคงมีประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาในหลักปฏิบัติเดินทางเข้ามาลงทะเบียน เพื่อขอรับเข้าปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยในแต่ละช่วงจะมีผู้ปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 1,000 คน โดยมีพระอาจารย์ ผู้เป็นลูกศิษย์เป็นผู้ถ่ายทอด และ ชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติให้กับผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของหลวงพ่อในการให้ประชาชนมีสติ ตามหลักคำสอนของหลวงพ่อที่ว่าเราพูดอยู่เสมอถึงคำว่า สติปัญญา เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้นแท้จริงแล้ว เรานำออกมาใช้น้อยนัก ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าแก่ชีวิต ดังนั้น แม้จะสิ้นหลวงพ่อแล้ว แต่ที่วัดแห่งนี้ยังคงไม่สิ้นแนวทางปฏิบัติของท่าน และ แนวทางนี้จะยังคงอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาต่อไป
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) เป็นพระภิกษุชาวไทย ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรีจังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3 ท่านมีชื่อเสียง ในระดับประเทศจากการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ แนวทางการสืบทอดพระพุทธศาสนาของท่านเน้นหนักที่การสั่งสอนเรื่องกฎแห่งกรรม โดยยกเหตุการณ์ที่ท่านประสบและนับเป็นกฎแห่งกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์อยู่เสมอ และเน้นการพัฒนาจิตใจคนด้วยการทำวิปัสสนากรรมฐานด้วยหลักสติปัฏฐาน 4 แบบพองหนอ-ยุบหนอ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนหมั่นสวดมนต์ด้วยพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา) เพื่อเป็นเครื่องเจริญสติอย่างแพร่หลายอีกด้วย หลวงพ่อจรัญถึงแก่มรณภาพอย่างสงบ ในวันที่ 25 มกราคม 2559
กำหนดเวลาเข้ากราบสรีระสังขารหลวงพ่อ ตั้งแต่ 08.30 - 21.00 น. ของทุกๆ วัน
การปฏิบัติธรรมสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการมาที่วัดอัมพวันนั้น จะมีแบบ 3 วัน และ 7 วัน ดังนี้
- การเข้าปฏิบัติธรรมแบบ 3 วัน สามารถไปลงทะเบียนได้ที่วัด ทุกวันศุกร์ ก่อน 4 โมงเย็น และจะลาศีล (กลับบ้าน) ก่อนบ่ายของวันอาทิตย์
- การเข้าปฏิบัติธรรมแบบ 7 วัน สามารถไปลงทะเบียนได้ที่วัด ทุกวันโกนก่อน 4 โมงเย็นเช่นกัน และลาศีลในวันโกนถัดไป (วันโกนคือวันก่อนวันพระ 1 วัน)
แต่สำหรับเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องนำหนังสืออนุญาตจากผู้ปกครองนำติดไปด้วย ซึ่งสามารถใช้วิธีเขียน ระบุชื่อผู้ปกครองที่อนุญาตให้มาปฏิบัติธรรมกี่วัน พร้อมเบอร์โทรศัพท์และสำเนาบัตรประชาชน และเมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถนำสัมภาระเข้าไปเก็บยังที่พัก โดยจะมีที่ให้อาบน้ำและเปลี่ยนเป็นชุดปฏิบัติธรรมและลงมารอที่อาคารภาวนา 1 ชั้นบน ในเวลาประมาณ 17.30 น. ซึ่งจะมีท่านพระครูสอนกรรมฐานเบื้องต้น นอกจากนี้ทางวัดยังเปิดปฏิบัติธรรมให้แก่ชาวต่างชาติอีกด้วย
การเดินทางมาวัด
โดยรถยนต์ส่วนตัว ออกจากกรุงเทพฯโดยใช้ถนนพหลโยธิน แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) โดยขับตรงมาตลอดทาง ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง ทางเข้าวัดจะตั้งอยู่บริเวณ กิโลเมตรที่ 78 - 79 ให้สังเกตุทางซ้ายมือ จะมีป้ายทางเข้าวัดอัมพวัน ระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร โดยรถโดยสารประจำทาง ให้นั่งรถตู้หรือรถโดยสารประจำทางโดยขึ้นรถที่สถานีหมอชิต ๒เดินทางโดยวินรถตู้ กรุงเทพ - สิงห์บุรี ค่าโดยสาร 150 บาท เดินทางโดยรถโดยสาร กรุงเทพ - สิงห์บุรี
|
|
|
|
|
ผู้เข้าชม 31 ท่าน |
|