หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
 
เทศบาลตำบล พรหมบุรี ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ที่ทำการเทศบาลตำบล
พรหมบุรี
วิสัยทัศน์ ทต.พรหมบุรี
เมืองน่าอยู่ คู่คุณภาพเกษตร
เขตวัฒนธรรม นำการพัฒนา
แหล่งรวมศรัทธาของประชาชนในตำบล
เทศบาลตำบล
พรหมบุรี
อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
1
2
3
 

การจัดการองค์ความรู้ KM
 
 

 
การฝึกอบรมแบบระบบห้องเรียน  
 

การฝึกอบรมแบบระบบห้องเรียน (Classroom Training)

ประเด็นสำคัญ
การฝึกอบรมแบบระบบห้องเรียน (Classroom Training) ควรมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เรื่องราวที่จะถ่ายทอดความรู้ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรได้
วิทยากรหรือผู้ที่มาให้ความรู้นั้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี มีกลยุทธ์ในการพูดที่น่าฟัง มีองค์ความรู้ที่แน่น และมีวิธีการพูดที่ดึงดูดผู้ฟังให้อยากรับสาร
การฝึกอบรมกับคนหมู่มากนั้นสิ่งที่ควรเช็คให้ดีคืออุปกรณ์ประกอบการอบรมต่างๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการสื่อสาร อย่างไมค์ ลำโพง เป็นต้น ตลอดจนสถานที่ในการจัดงานให้พร้อมและเหมาะสม
Contents [hide]

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการฝึกอบรมระบบห้องเรียน (Classroom Training)
1.มีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และเรื่องที่จะอบรมชัดเจน
2.สถานที่สะดวกสบาย ต้องรองรับผู้อบรมได้
3.อุปกรณ์ต่างๆ ต้องพร้อม
4.เอกสารประกอบการอบรมต้องพร้อม
5.จัดลำดับการนำเสนอให้ดี ใช้ระยะเวลาให้เหมาะสม
6.ผู้อบรมควรมีทักษะการสื่อสารที่ดี
7.ผู้เข้าอบรมควรมีพื้นความรู้ในเรื่องนั้น และสนใจที่จะเข้ารับการอบรม
8.เปิดให้มีการซักถาม
9.ประเมินผลหลังจบการอบรม
บทสรุป


การฝึกอบรมให้กับพนักงานนั้นมีหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในกระบวนการพื้นฐานของการฝึกอบรมที่นิยมทำกันนั้นก็คือการฝึกอบรมแบบระบบห้องเรียน (Classroom Training) นี่เอง การฝึกอบรมโดยวิธีนี้จะเสมือนกับครูที่สอนนักเรียนในห้องเรียน ผู้อบรมจะมีเป้าหมายในการสอนที่ชัดเจน มีวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ มีกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในขณะที่ผู้รับการอบรมก็จะได้รับความรู้ตลอดจนประโยชน์ต่างๆ ไปในคราวเดียวกันด้วย

Check Lists!


การอบรมรูปแบบนี้เหมาะกับ

การให้ความรู้เรื่องเดียวกันกับคนจำนวนมาก
ผู้สอน/ผู้ให้ความรู้มีทักษะในการสื่อสารที่ยอดเยี่ยมและจูงใจคนฟังได้ดี
การอบรมที่มีค่าใช้จ่ายจำกัด
การเรียนรู้ทั่วไปที่ไม่ใช่เชิงลึกมากนัก
การอบรมเชิงทฤษฎี
การอบรมที่มีระยะเวลาไม่มากนัก
การเพิ่มเติมความรู้จากที่มีพื้นฐานความรู้เดิมอยู่แล้ว
วิทยากรที่มีความน่าเชื่อถือ มีชื่อเสียง เพราะจะทำให้ทุกคนสนใจและตั้งใจฟัง
การอบรมรูปแบบนี้ไม่เหมาะกับ

การฝึกอบรมที่เน้นภาคปฎิบัติการ
การอบรวมที่ต้องการทดสอบศักยภาพการทำงานรายบุคคล
การอบรมที่ต้องการฝึกฝนทักษะเฉพาะตัว
วิทยากรที่ไม่มีศักยภาพในการสื่อสาร หรือมีเนื้อหาที่ไม่น่าสนใจ
การฝึกอบรมระบบห้องเรียน (Classroom Training) นั้นสามารถจัดทำได้ทั้งในองค์กรและนอกองค์กรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ตลอดจนงบประมาณที่เหมาะสมสำหรับการจัดฝึกอบรมในแต่ละครั้ง ในส่วนของผู้ที่จะถ่ายทอดความรู้หรือวิทยากรในการฝึกอบรมนั้นอาจเป็นคนในองค์กรหรือผู้เชี่ยวชาญนอกองค์กรที่ถูกเชิญมาให้ความรู้ก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกคนให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการฝึกอบรมระบบห้องเรียน (Classroom Training)


การฝึกอบรมระบบห้องเรียนนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียมากมาย ผู้ที่จะจัดฝึกอบรมรูปแบบนี้ควรคำนึงให้รอบด้านด้วย เพื่อที่จะให้การอบรมเกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายให้มากที่สุดนั่นเอง โดยสิ่งที่ควรคำนึงถึงนั้นมีดังนี้

1.มีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และเรื่องที่จะอบรมชัดเจน
การอบรมแบบระบบห้องเรียนนี้เสมือนการเรียนการสอน ฉะนั้นผู้จัดการอบรมตลอดจนวิทยากรที่อบรมนั้นจะต้องมีการวางเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะพูดหรือให้ความรู้เรื่องอะไร อย่างไร เพื่ออะไร ทั้งนี้จะทำให้ผู้สอนสามารถโฟกัสสิ่งที่ตัวเองต้องการจะถ่ายทอดได้ดี และผู้จัดการอบรมทราบถึงวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน ทั้งยังมีผลต่อการประเมินผลการอบรมอีกด้วย แล้วหากไม่มีเป้าหมายชัดเจน ทิศทางการอบรมก็จะไม่ชัดเจนตามไปด้วย

2.สถานที่สะดวกสบาย ต้องรองรับผู้อบรมได้
การอบรมในรูปแบบห้องเรียนนี้มักมีคนเป็นจำนวนมากเข้าร่วมการฝึกอบรม เพราะฉะนั้นสถานที่ในการอบรมต้องพร้อม ควรรองรับจำนวนผู้อบรมได้หมด สถานที่มีความสะดวกสบาย เหมาะแก่การอบรม หากสถานที่คับแคบ ไม่เพียงพอต่อการรองรับก็จะทำให้เกิดความอึดอัดได้ หรือไม่เกิดความสบาย ทำให้การอบรมไม่สัมฤทธิ์ผลได้

3.อุปกรณ์ต่างๆ ต้องพร้อม
ทีมที่ทำการอบรมควรต้องเช็คอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการอบรมให้พร้อมด้วย เพราะการอบรมในลักษณะนี้ต้องมีการสื่อสารที่ดี อุปกรณ์ที่ดีจะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อุปกรณ์ที่สำคัญที่ควรเช็คให้ดีก็ได้แก่ ไมโครโฟน, ลำโพง, เครื่องฉายภาพและจอ, ไปจนถึงอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญควรมีการทดสอบการใช้อุปกรณ์ให้คล่องก่อนการอบรมด้วย เพื่อป้องกันการผิดพลาด สะดุด หรือทำความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ให้ดี เพื่อให้การอบรมราบรื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นการเช็คความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ ไปในตัวได้ด้วยเช่นกัน

4.เอกสารประกอบการอบรมต้องพร้อม
การอบรมคนเป็นจำนวนมากนี้ควรจัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรมให้พร้อม ถูกต้อง ครบถ้วน รวมไปถึงมีจำนวนเพียงพอสำหรับผู้เข้ารับการอบรมทุกคนด้วย เอกสารประกอบการอบรมจะทำให้ผู้รับการอบรมสามารถรู้เนื้อหาได้ดี ตามการอบรมได้ทัน เข้าใจในเนื้อหาที่ฝึกอบรมได้ง่ายขึ้น รวมถึงนำไปทบทวนหลังการฝึกอบรมได้อีกด้วย

5.จัดลำดับการนำเสนอให้ดี ใช้ระยะเวลาให้เหมาะสม
ผู้ที่จัดการฝึกอบรวมควรวางแผนการอบรมให้ดี เริ่มตั้งแต่การคัดกรองเนื้อหาที่จะนำเสนอ การจัดลำดับนำเสนอให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ได้ดีขึ้น ลำดับเรื่องราวให้ชัดเจน การจัดลำดับการนำเสนอที่ดีนั้นจะทำให้ทั้งผู้ให้ความรู้และผู้รับการอบรมเข้าใจเรื่องราวที่จะสื่อสารได้ดียิ่งขึ้นด้วย และสามารถแทรกเรื่องราวอื่นๆ ตลอดจนการผ่อนคลายเพื่อให้การอบรมไม่น่าเบื่อจนเกินไปได้ด้วย ที่สำคัญควรใช้ระยะเวลาให้เหมาะสม ไม่นานจนเกินไปซึ่งจะทำให้ผู้รับการอบรมเบื่อหน่าย สมองไม่เปิดรับความรู้ได้ หรือหากต้องใช้เวลาในการอบรมนานจริงๆ ก็ต้องแบ่งช่วงการอบรมให้น่าสนใจ มีการพักเบรก ตลอดจนมีหาวิธีที่จะทำให้การอบรมไม่เกิดความน่าเบื่อหน่าย

6.ผู้อบรมควรมีทักษะการสื่อสารที่ดี
ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะทักษะในการพูดต่อที่สาธารณะ ใช้นำเสียงอย่างไรให้มีพลัง น่าฟัง และน่าเชื่อถือ ตลอดจนสามารถจูงใจให้ทุกคนอยากฟังได้ ถึงแม้ว่าการอบรมจะมีเนื้อหาที่ดีเพียงไร หากวิทยากรหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ไม่มีทักษะการสื่อสารที่ชวนฟัง ไม่ฝึกการพูดในที่สาธารณะที่จูงใจ ก็อาจทำให้การอบรมน่าเบื่อ และผู้ฟังไม่รับสาร การอบรมนั้นก็ถือว่าไร้ประสิทธิภาพได้เช่นกัน ฉะนั้นควรเรียนรู้เทคนิคการสื่อสารที่ดีไปพร้อมกันด้วย

7.ผู้เข้าอบรมควรมีพื้นความรู้ในเรื่องนั้น และสนใจที่จะเข้ารับการอบรม
ผู้เข้าอบรมเองก็ควรมีพื้นในเรื่องที่จะเข้าไปอบรม หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมไว้ก่อนเพื่อที่จะต่อยอดกับการอบรมนั้นๆ ได้ หากไม่มีพื้นความรู้ หรือพื้นความรู้ไม่ได้จำเป็นกับการอบรมมากนัก ผู้เข้ารับการอบรมก็ควรมีความอยากที่จะเข้ารับการอบรมในเรื่องที่ตนเองสนใจ มุ่งมั่นที่จะรับความรู้ และจดจ่อในการฟัง หากผู้เข้ารับการอบรมไม่ได้สนใจเรื่องที่อบรม หรือการอบรมไม่ก่อประโยชน์ใดๆ กับตนเอง ก็อาจทำให้การอบรมนั้นไร้ค่าได้เช่นกัน

8.เปิดให้มีการซักถาม
การอบรมในระบบห้องเรียนนี้มักจะมีคนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก การสอนหรือการดูแลอาจจะไม่ทั่วถึงนัก หนึ่งในกระบวนการสำคัญของการอบรมรูปแบบนี้ก็คือการเปิดให้ซักถาม ถาม-ตอบ ข้อสงสัย หรือสิ่งที่อยากรู้ รวมไปถึงสิ่งที่อธิบายผ่านมาว่าเข้าใจหรือไม่เข้าใจตรงจุดไหน หากไม่มีการเปิดช่วงซักถาม ก็อาจทำให้ผู้ที่สงสัยไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตนติดค้างได้ หรือบางครั้งวิทยากรอาจจะไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ตนเองพูดไปนั้นทำให้ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการอบรมเกิดความเข้าใจได้หรือไม่ การเปิดการซักถามนี้จึงถือเป็นการประเมินผลการอบรมเบื้องต้นวิธีหนึ่ง รวมถึงเปิดโอกาสให้เติมเต็มการเรียนรู้ที่ขาดหายไปได้ด้วย

9.ประเมินผลหลังจบการอบรม
ทุกครั้งหลังการจัดการฝึกอบรมแบบห้องเรียนนั้นควรมีการประเมินผล ตั้งแต่ประเมินผลผู้สอน ประเมินผลวิทยากร ประเมินผลผู้เรียน ประเมินผลการเรียนรู้ ตลอดจนประเมินผลด้านอื่นๆ การประเมินผลจะทำให้เราทราบว่าการจัดการอบรมนั้นประสบผลสำเร็จหรือไม่ หรือเกิดข้อผิดพลาดตรงจุดไหน ต้องแก้ไขอะไร มีข้อบกพร่องอะไรควรปรับปรุง หรือพัฒนาให้ดีขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการอบรมครั้งต่อๆ ไปได้

บทสรุป


การจัดการฝึกอบรมในแต่ละครั้งนั้นองค์กรมักจะมีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการฝึกอบรมระบบห้องเรียน (Classroom Training) นั้นมักจะทำกับคนหมู่มากที่องค์กรต้องการให้ความรู้ในเรื่องเดียวกัน การจัดการฝึกอบรมวิธีนี้วิทยากรหรือผู้ที่มาให้ความรู้นั้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง เขาต้องสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ มีทักษะการสื่อสารที่ดี มีกลยุทธ์ในการพูดที่ทำให้คนอยากฟัง รวมไปถึงมีความรู้รอบด้านเพียงพอที่จะตอบข้อซักถามของผู้ที่เข้าอบรมได้ชัดเจน อีกด้าน ผู้ที่เข้าร่วมรับการอบรมก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนใจในเรื่องที่ตนเองจะเข้าร่วมอบรม และองค์กรก็ควรดูให้ดีว่าเรื่องที่จะทำการฝึกอบรมในระบบนี้นั้นเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของบุคคลตลอดจนองค์กรได้หรือไม่ ไม่งั้นจะทำให้การจัดการฝึกอบรมศูนย์เปล่า และเสียเวลาในที่สุด

 

ข่าว ณ. วันที่ 5 ส.ค. 2563 เวลา 16.19 น. โดย พีระประภา@naxsolution.com

ผู้เข้าชม 94 ท่าน

 
 
 
เริ่มนับ วันที่ 8 ม.ค. 2559
 
 
 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร 036-810-343
 
  แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10